ปลาร้าทรงเครื่อง
ประเภทวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ : ความรู้แนวปฏิบัติธรรมชาติและจักรวาล
ปลาร้าทรงเครื่องนั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากครอบครัวครัวของ คุณวิมล แซ่ปึ้ง(นามกกุลเดิม ทองดี) ซึ่งประกอบอาชีพทำปลาร้าขายมาตั้งแต่รุ่นของคุณแม่ (นางแหม่ม ทองดี) ต่อมาได้แต่งงานกับนายสุชาติ แซ่ปึ่ง ซึ่งเป็นครอบครัวคนไทยชื่อสายจีน ครอบครัวสุดท้ายของ บัวโรย อาศัยอยู่ตรงข้ามวัดบัวโรย ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง การค้าขายปลาร้าตกต่ำลง จึงนำปลาร้ามาดัดแปลงเป็นปลาร้าทรงเครื่อง เพื่อให้พร้อมรับประทานและยกระดับขึ้น โดยนำปลาร้าปลานิลบ้าง ปลาจีนบ้าง ปลายี่สกบ้าง มาแกะเอาแต่เนื้อ แล้วยีให้ขึ้นฟู พัดใส่พริกแกง น้ำมะขามเปียก ให้ออก 3 รสเปรี้ยวเต็มหวาน ดับกลิ่นปลาร้าด้วยเครื่องสมุนไพรต่าง ๆ เช่นใบมะกรูดหั่นฝอยทอด หอมเจียว หัดจนแห้งไม่อมน้ำมัน เป็นอันเสร็จ
ปลาร้า ของคุณวิมลจึงถือว่าเป็นเจ้าแรก ที่ทำเป็นสินค้าที่ขายดีเรื่อยมา ด้วยรสชาติที่จัดจ้าน เผ็ดร้อน ถึงเครื่อง และราคาไม่แพง จึงเป็นที่นิยมในหมูผู้บริโภค แต่ก่อนร่อนชะไร ปลาร้ามักนิยมทำกันหลังเกี่ยวข้าว เพราะน้ำในบ่อนา จะเริ่มลดลง และย่างเข้าหน้าแห้ง ภักษาหาร มังสาหาร ย่านบ้านนอกคอกนาก็จะหารับประทานยาก ไม่มีหมู ไก่ แบบปัจจุบัน แหล่งโปรตีนที่พอจะหาได้ก็มีแต่ปลา เท่านั้น บางบ้านจะทำปลาเค็ม ปลาแห้ง และปลาร้าเก็บไว้กินในครัวเรือน หากมีมากก็แบ่งปันกัน ต่อมาราว 2530 ที่บัวโรยมีการเปลี่ยนแปลงด้านการประกอบอาชีพ มีการส่งเสริมให้เลี้ยงปลา โดยเฉพาะปลานิล ที่ในหลวง ร.9 ท่านพระราชทานมาผ่านกรมประมง ส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เลี้ยง พื้นที่นาจึงถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นบ่อปลา แรกๆเรียกกันติดปากว่า “ลาด” เพราะ ขุดบ่อให้มีความลาดลงด้านข้าง ตรงกลางเป็นเนินใช้ปลูกข้าว เนื่องขากชาวบ้านยังไม่กล้าที่จะเสี่ยงกับการขาดทุน ต่อมาเมื่อเห็นว่า อาชีพเลี้ยงปลาเป็นอาชีพที่มั่นคงกว่าทำนาแล้วจึงขุดบ่อให้มีก้นลึกแบบปัจจุบัน คำว่า “ลาด” จึงหายไป กลายเป็น บ่อ แทน เมื่อถึงคราวต้องวิดบ่อจับปลา จะแบ่งเป็นสองขั้นตอน อันแรกเรียกว่า ลากปลา คือ พร่องน้ำออกจากบ่อ เพื่อสะดวกในการใช้อวนตาข่ายล้อมปลาให้อยู่ในวงจำกัด และสะดวกในการคัดเลือกปลาตามขนาด อันที่สอง เรียกว่าวิดแห้ง คือ เอาน้ำแแกให้หมด แล้วเอาคนลงไปจับปลาที่ตกค้างอยู่ก้นบ่อ ปลาที่ได้จะมีหลากหลายทั้งปลาหมอ ปลาช่อน ปลาหลด ปลากระดี่ นอกเหนือจากปลาเป็นที่จับได้แล้ว ปลาบางส่วนที่ไม่ได้ขนาด และปลาที่น๊อคตายซึ่งขายไม่ได้ ก็จะถูกนำมาแปรรูป เป็นปลาเค็ม ปลาแดดเดียว และปราร้า
ปลาร้าของบัวโรยนั้นต่างจากปลาร้าทางอีสาน เพราะจะทำปลาร้าต้องทำเป็นปลาเกลือเสียก่อน คือนำมาปลามาขอดเกล็ด คว้านไส้ให้สะอาด ล้างจนสะอาดหมดจรด ถ้าเป็นปลากระดี่ สมัยก่อนจะเอาเปลือกหอยแครงใส่ในสวิงตาข่ายแล้วกระแทกกับไม้ เปลือกหอยแครงจะช่วยประหยัดเวลาในการขอดเกล็ด เมื่อทำปลาสะอาดแล้วจึงนำมาเคล้ากับเกลือป่น ใส่โอง่ใส่ไห หมักไว้ จนเกลือเข้าเนื้อปลา ถ้าเกลือเข้าเนื้อตัวปลาจะแข็ง ไม่น่วม จึงเทออกมา น้ำที่ได้จาการทำปลาเกลือจะเก็บไว้ เพื่อเอาไปต้มทำน้ำปลาไว้ใช้ในครัวเรือน จากนั้นจึงน้ำมามาเคล้ากับข้าวคั่ว เต็มเกลืออีกรอบ แล้วอัดใสภาชระให้แน่นจนเต็ม เอากาบหมากปิดทับกันแมลงลงไปวางไข่ ขัดด้วยไม้ไผ่ หรือ ต้นคล้า ต่อมาในปัจจุบันปัดฝาด้วยพลาสติก ทิ้งไว้เป็นปีจึงนำออกมาทานได้ เก็บนานกว่านั้น เนื้อปลาจะไม่อร่อย จึงมีสำนวนที่ว่า ปลาร้าค้างปี (ที่มา:พระมหาชวลิต อธิจิตโต)