ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นไม้ : Rudia chrysantha, K. Schum
สถานที่พบ : วัดบัวโรย
แหล่งอ้างอิง : http://thaiforestherb.blogspot.com/2016/05/blog-post_30.html
สะตือเป็นไม้ต้น สูง 8–25 ม. ลำต้นมักแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง ถึงค่อนข้างกลม เปลือกสีน้ำตาลเทา เรียบหรือแตกเป็นแผ่นหนา เปลือกชั้นในสีน้ำตาลถึงแดงเข้ม กิ่งอ่อน ยอดอ่อน และใบอ่อนมีขน และเกลี้ยงในเวลาต่อมา ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียนสลับ ก้านใบรวมแกนช่อใบยาว 4–10 ซม. มีใบประกอบย่อย 4–6 ใบ เรียงสลับ แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง 2–5 ซม. ยาว 3–8 ซม. ปลายเป็นติ่ง โคนสอบ มีเส้นแขนงใบย่อย 8–10 คู่ ดอก เล็ก สีขาว ออกเป็นช่อเดี่ยวตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผล ค่อนข้างแบน รูปรี กว้าง 3–4 ซม. ยาว 5–6 ซม. มีเส้นนูนตามขวางด้านข้างฝักห่างๆ และมีขนสีน้ำตาลคลุมหนาแน่น ปกติมี 1 เมล็ด สะตือมีการกระจายพันธุ์ตามชายห้วย หนอง และแม่น้ำลำธาร ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบ ที่ความสูงตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางถึง 250 ม. ทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในต่างประเทศพบที่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ออกดอกเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ผลแก่เดือนกรกฎาคม–สิงหาคม เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลคล้ำ แข็งและเหนียว นิยมใช้ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร เครื่องเรือนและงานก่อสร้างทั่วไป ใบใช้ต้มอาบแก้โรคอีสุกอีใส โรคหัด เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง
ต้นสะตือเป็นไม้เก่าโบราณ เป็นหมุดหมายแห่งประวัติศาสตร์ต้นหนึ่ง มีวัดมีชื่อตามต้นสะตือ และมีชื่อเสียงโด่งดังมาก