ถังฟาดข้าว
การฟาดข้าวคือ การนำข้าวที่เกี่ยวเสร็จแล้วมาฟาด เพื่อแยกเมล็ดข้าวออกจากต้นข้าว หรือนวดแบบโบราณ การฟาดข้าวจะต้องมีอุปกรณ์หรือถังที่ใช้สำหรับฟาดข้าว
ถังฟาดข้าวโบราณเป็นถังขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้สัก ๑๖ ชิ้น ต่อเรียงกันเป็นรูปวงรี กว้าง ๒ ศอก ยาว ๓-๔ ศอก สูงประมาณ ๒ ศอก มีบันไดฟาดข้าววางตามความยาวของถัง และมีเสื่อลำแพนตั้งไว้เพื่อป้องกันข้าวเปลือกกระเด็นออกนอกถัง
ถังฟาดข้าวแบบโบราณสามารถลากไปตามพื้นนาชื้น ๆ ได้ นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยก่อน โดยส่วนมากจะใช้ฟาดข้าวเหนียว และข้าวเบา เพราะข้าวในสมัยนั้นมีจำนวนน้อยไม่พอที่จะนวดบนลานนวดข้าว หรือนำไปสีที่โรงสีข้าว เมื่อสิ้นสุดฤดูทำนาถังฟาดข้าวแบบโบราณยังนำมาใช้เก็บข้าวเปลือกได้
ที่มา : พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน